นับตั้งแต่เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว Toyota Corolla Cross (โตโยต้า โคโรลล่า ครอส) ผงาดขึ้นเป็นผู้นำตลาดได้อย่างเต็มภาคภูมิ
Toyota สามารถทำยอดขายสะสมตลอดระยะเวลากว่า 1 ปีของรถเอสยูวีรุ่นนี้ได้มากถึง 22,500 คัน แต่สิ่งที่น่าจับตามองก็คือสัดส่วนยอดขายของรุ่นไฮบริดที่พุ่งกระฉูดมากถึง 85% ของยอดขายทั้งหมด เรียกได้ว่าเสียงส่วนใหญ่ของลูกค้าชาวไทยเทใจไปให้ขุมพลังลูกผสม
คำถามที่เกิดขึ้นก็คือทำไมผู้ขับขี่ในไทยถึงชื่นชอบ Corolla Cross รุ่นไฮบริดมากนัก แล้วทำไมผู้บริโภคในประเทศเพื่อนบ้านของเราอย่างมาเลเซียกลับไม่ให้ความสนใจเท่าที่ควร
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });
กลยุทธ์มุ่งเน้นรุ่นไฮบริด
บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทยนำเสนอ Corolla Cross ทั้งหมด 4 รุ่นย่อยในเมืองไทย โดยมีรุ่นเริ่มต้นอย่าง 1.8 Sport เพียงรุ่นเดียวที่ใช้เครื่องยนต์เบนซินปกติมีขนาด 1.8 ลิตร ส่วนอีก 3 รุ่นที่เหลือใช้ขุมพลังไฮบริด เครื่องยนต์เบนซิน ขนาด 1.8 ลิตร พ่วงแบตเตอรี่และมอเตอร์ไฟฟ้าแบบเดียวกับที่ใช้ใน Corolla Altis Hybrid (โตโยต้า โคโรลล่า อัลติส) และ C-HR Hybrid (โตโยต้า ซี-เอชอาร์)
Corolla Cross รุ่นไฮบริดทั้ง 3 รุ่นย่อยมาพร้อมอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ครบครันมากกว่า ขณะที่ราคาจำหน่ายระหว่างรุ่นเบนซินกับรุ่นไฮบริดก็ต่างกันเพียง 30,000 บาทเท่านั้น
ลำพังเพียงการจัดวางรุ่นย่อยเท่านี้ก็เห็นได้ชัดว่าค่ายรถยักษ์ใหญ่จากญี่ปุ่นมุ่งเน้นไปที่รุ่นไฮบริดมากกว่ารุ่นเครื่องยนต์สันดาป ขณะเดียวกัน หากกวาดตามองไปที่คู่แข่งจากญี่ปุ่นด้วยกันอย่าง Honda HR-V (ฮอนด้า เอชอาร์-วี) และ Mazda CX-30 (มาสด้า ซีเอ็กซ์-30) ไม่มีรุ่นใดนำเสนอขุมพลังไฮบริดเลย
เว็บไซต์ Wapcar.my พันธมิตรของเราจากมาเลเซียทำการวิเคราะห์ไว้ว่าสาเหตุที่ทำให้รถไฮบริดหลายรุ่น รวมถึง Corolla Cross ไม่ได้รับความนิยมในประเทศของพวกเขาเป็นเพราะราคาน้ำมันที่ถูกจนไม่จำเป็นต้องไปเลือกรถไฮบริดเพื่อเน้นความประหยัดน้ำมันแต่อย่างใด
หากเปรียบเทียบกันแล้ว ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอลล์ 91 ในไทยอยู่ที่ประมาณ 28 – 29 บาท ขณะที่น้ำมันแก๊สโซฮอลล์ 95 ในมาเลเซียซึ่งได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาลอยู่ที่ 2.05 ริงกิตหรือ 16 – 17 บาทเท่านั้น ถูกกว่าเกือบครึ่งหนึ่งเลยทีเดียว แล้วแบบนี้จะซื้อรถไฮบริดไปทำไมกันล่ะ!?
ไม่เพียงเท่านั้น ไทยยังมีพิกัดอัตราภาษีที่ต่ำกว่าสำหรับรถไฮบริดที่มีเครื่องยนต์ความจุน้อยกว่า 3.0 ลิตร ทำให้ราคารถยนต์ไฮบริดเอื้อมถึงได้ง่าย
ปัจจัยข้อสุดท้ายก็คือภาพลักษณ์ของตลาดรถไฮบริดในมาเลเซีย Wapcar ระบุว่า BMW และ Mercedes-Benz เป็นผู้กำหนดทิศทางตลาดรถไฮบริดเป็นส่วนใหญ่ และที่ผ่านมามักมีเสียงวิจารณ์ถึงค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษารถไฮบริดจากยุโรป โดยเฉพาะการเปลี่ยนแบตเตอรี่ที่แพงหูฉี่เลยทีเดียว
แต่แท้จริงแล้ว การดูแลรักษารถยนต์ไฮบริดสัญชาติญี่ปุ่นไม่ได้แพงอย่างที่คิด แถมยังมาพร้อมการรับประกันที่ยาวนาน สร้างความอุ่นใจให้แก่ลูกค้าได้เป็นอย่างดี
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });