รัฐบาลอินเดียปฏิเสธข้อเรียกร้องของ Tesla (เทสล่า) ที่ต้องการให้ยกเว้นภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าเพื่อให้สามารถแข่งขันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า อินเดียต้องการรักษามาตรฐานด้านภาษีนำเข้ารถยนต์ไว้เช่นเดิม เนื่องจากมองว่ากำแพงพิกัดภาษีดังกล่าวใช้ได้กับบริษัทรถยนต์ทุกราย ไม่เว้นแม้แต่ Tesla ที่เป็นผู้นำตลาดระดับโลก
วิเวค จอห์รี ประธานคณะกรรมการกรมศุลกากรของอินเดียกล่าวว่า รัฐบาลพิจารณาข้อเสนอของ Tesla แล้วก่อนตัดสินใจคงอัตราภาษีนำเข้ารถยนต์ไว้เช่นเดิม
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });
“เราได้มีการทบทวนว่าอัตราภาษีนำเข้ารถยนต์จำเป็นจะต้องถูกปรับปรุงใหม่หรือไม่ แต่เราคิดว่าการผลิตรถยนต์ในประเทศก็ยังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และเราคิดว่าควรมีการลงทุนในประเทศมากกว่าการปรับอัตราภาษีนำเข้า”
“เราจึงได้ข้อสรุปว่าอัตราภาษีนำเข้าไม่ใช่อุปสรรคของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ ณ เวลานี้” วิเวค กล่าวเพิ่มเติม
Tesla ต้องการอะไร?
มัสก์เคยให้สัมภาษณ์อย่างชัดเจนว่าต้องการให้รัฐบาลอินเดียลดภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าลง 100% เพื่อให้บริษัทฯ สามารถรุกเข้าทำตลาดในประเทศได้ พร้อมกับให้คำมั่นว่าเมื่อธุรกิจดำเนินไปสักระยะก็จะตัดสินใจลงทุนสร้างโรงงานผลิตในแดนโรตี
“หาก Tesla ประสบความสำเร็จในการนำเข้ารถยนต์สู่ตลาดอินเดีย หลังจากนั้นโรงงานก็อาจเกิดขึ้นได้” มัสก์ ทวีตไว้เช่นนี้ในช่วงกลางปีที่แล้ว
มีรายงานว่า มีหลายรัฐในอินเดียที่ต้องการให้รัฐบาลกลางยกเว้นภาษีนำเข้า และมีอย่างน้อย 5 รัฐที่เชิญชวน Tesla ให้เข้ามาตั้งโรงงานในพื้นที่
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลอินเดียต้องการให้ Tesla พิจารณาสร้างโรงงานประกอบรถยนต์สำเร็จรูปในประเทศซึ่งจะมีอัตราภาษีต่ำกว่าการนำเข้ารถยนต์เข้ามาทั้งคัน
วิเวค กล่าวเพิ่มเติมว่าอินเดียได้เชิญชวนให้ Tesla นำเสนอแผนการผลิตและจัดซื้อชิ้นส่วนในประเทศให้แก่รัฐบาลแล้ว แต่จนถึงเวลานี้ยังไม่มีการนำเสนอแผนแต่อย่างใด ตรงกันข้ามกับ Mercedes-Benz ที่กำลังวางแผนก่อตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในอินเดีย
“เราได้ต้อนรับการลงทุนในประเทศอย่างต่อเนื่องจากบริษัทรถยนต์หลายรายภายใต้อัตราภาษีที่เรามีอยู่ คำถามคือทำไมบริษัทรถยนต์บางรายถึงไม่เข้ามาลงทุน ขณะเดียวกัน ก็ยังมีอีกหลายบริษัทที่นำเข้ารถยนต์เข้ามาจำหน่ายได้ตามปกติ” วิเวค กล่าวเพิ่มเติม
ทั้งนี้ ถึงแม้อินเดียจะเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากจีน แต่ตลาดรถยนต์ไฟฟ้ายังมีขนาดเล็กมาก มีสัดส่วนไม่ถึง 1% ของยอดขายรถยนต์ทั้งหมด เนื่องจากผู้บริโภคนิยมใช้รถยนต์ขนาดเล็กที่ใช้เครื่องยนต์เบนซินและดีเซลมากกว่า
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });