คอรถยนต์ที่ติดตามข่าวคราวในวงการยานยนต์ระดับโลกมักพบเห็นการใช้ชิ้นส่วน “ฟอร์จ” หรือ forged ในรถสมรรถนะสูงหรือรถยนต์ที่ต้องการความทนทานเป็นพิเศษ
หนึ่งในชิ้นส่วนสำคัญที่มักผ่านกระบวนการผลิตแบบฟอร์จก็คือลูกสูบซึ่งต้องการความทนทานเป็นอย่างยิ่งเพื่อรองรับการใช้งานในช่วงรอบเครื่องยนต์สูง ยิ่งลูกสูบมีความแข็งแรงมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งรองรับแรงม้า-แรงบิดได้สูงมากขึ้นเท่านั้น
เว็บไซต์ Donut Media ได้ทำการทดลองเพื่อค้นหาเหตุผลว่าทำไมลูกสูบฟอร์จถึงแข็งแกร่งเพียงนี้ พร้อมเปรียบเทียบกับลูกสูบเหล็กหล่อดั้งเดิมและลูกสูบบิลเล็ต (billet) ที่สะกัดจากเหล็กก้อนที่มีความแข็งแรงขึ้นมาอีกระดับ
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });
ทำความเข้าใจกระบวนการผลิต
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกระบวนการผลิตลูกสูบแต่ละประเภทกันก่อน ลูกสูบเหล็กหล่อหรือ cast ทำจากการหลอมโลหะผสมหรืออัลลอยให้เป็นของเหลว จากนั้นทำการเทลงในแม่พิมพ์เพื่อขึ้นรูปให้เป็นกระบอกสูบตามขนาดที่กำหนดไว้ตั้งแต่ต้น
การทำลูกสูบเหล็กหล่อไม่มีความซับซ้อนมากนัก มีต้นทุนต่ำ ผลิตง่ายและรวดเร็ว จึงเป็นที่นิยมของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์กระแสหลักทั่วไป เหมาะสำหรับการใช้งานในรถยนต์ระดับแมสที่มีการผลิตออกจำหน่ายเป็นจำนวนมาก
อย่างไรก็ตาม จุดอ่อนของลูกสูบเหล็กหล่อคือการไม่สามารถควบคุมการหล่อตัวของโลหะได้ บางครั้งอาจเกิดความไม่สม่ำเสมอของผลึกโลหะและมีรูอากาศเกิดขึ้น ทำให้มีความแข็งแรงน้อยกว่าลูกสูบฟอร์จหรือบิลเล็ต ถึงแม้จะผลิตด้วยวัสดุแบบเดียวกันก็ตาม
ขยับมาดูกันที่ลูกสูบบิลเล็ต เกิดจากการสกัดโลหะทั้งก้อนให้กลายเป็นลูกสูบ กระบวนการผลิตเช่นนี้ทำให้ตัวลูกสูบมีความแข็งแรงมากขึ้น ผลึกโลหะมีความหนาแน่น แต่จุดอ่อนอยู่ตรงที่จุดตัดของลูกสูบอาจทำให้เกิดเกรนของโลหะ
สุดท้าย ลูกสูบฟอร์จมีกระบวนการผลิตช่วงเริ่มต้นคล้ายกับลูกสูบบิลเล็ต แต่แทนที่จะสกัดให้กลายเป็นลูกสูบที่ต้องการ ก้อนเหล็กถูกทำความร้อน นำเข้าเตาหลอม และกดอัดในดาย (die) หรือแม่พิมพ์หล่อฉีดให้มีขนาดตามต้องการด้วยแรงหลายพันปอนด์ นั่นทำให้ผลึกโลหะมีความหนาแน่นสูงมากและจัดเรียงตัวกันได้อย่างสมบูรณ์แบบ
เมื่อเกรนโลหะมีการเรียงตัวที่เป็นเลิศและมีจุดอ่อนน้อย ทำให้ลูกสูบฟอร์จมีความแข็งแรงทนทานมากที่สุดและรองรับการทำงานได้อย่างมีเสถียรภาพ รวมถึงตอบสนองต่อการ “จุดระเบิด” อย่างเต็มที่ ทำให้เป็นที่นิยมสำหรับบริษัทผู้ผลิตรถสมรรถนะสูงและสำนักแต่งต่าง ๆ ใช้งานในรถยนต์หลายร้อยแรงม้าไปจนถึงระดับทะลุพันแรงม้า
อดีตนักข่าว เอเจนซี่ และฟรีแลนซ์ฝีมือเยี่ยม ที่นำประสบการณ์ร่วม 20 ปีมาถ่ายทอดคอนเทนท์และประเด็นข่าวในวงการยานยนต์ทั้งไทยและเทศในรูปแบบที่สดใหม่และแตกต่าง
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });