หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อนว่า ทำไมรถ Volvo (วอลโว่) แทบทุกรุ่น ต้องมีแถบเฉียงพาดตรงกระจังหน้า เผยสาเหตุที่มาของสิ่งนี้ จากความจำเป็นต้องใช้ในอดีต จนกลายเป็นธรรมเนียมของการออกแบบจนปัจจุบัน
แถบเฉียงวอลโว่
รถยนต์วอลโว่ทุกรุ่นในปัจจุบัน นอกจากจะมีโลโก้วงแหวนหัวลูกศรแล้ว ยังมีแถบสีเงินพาดเฉียงจากขอบล่างซ้าย จรดกับโลโก้ตรงกลาง ผ่านต่อไปยังขอบบนขวา ซึ่งมีมาตั้งแต่ยุคแรกเริ่มของแบรนด์นี้ และมีอยู่ในรถแทบทุกรุ่นทั้งเก่าใหม่ การใช้แถบคาดเฉียงนี้ กลายเป็นเส้นเฉียงที่ทำให้เกิดภาพจำในปัจจุบันไปแล้ว แต่หลายคนอาจไม่รู้ว่ามันมีที่มาของการมีอยู่ในอดีต ที่ไม่ได้ตั้งใจให้เป็นเอกลักษณ์ในตอนแรก
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });
โลโก้จากแร่เหล็ก
แถบคาดเฉียงของวอลโว่ มีมาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งแบรนด์ในปี 1927 กับรถรุ่นแรกคือ OV4 หรือชื่อเล่นว่า Jakob เป็นรถทรงเทียมเกวียนตามยุคนั้น ออกแบบโดย Helmer MasOlle ผู้ต้องการชูจุดเด่นของแร่เหล็กบริสุทธิ์ในสวีเดน จึงได้ใช้สัญลักษณ์ทางเคมีของแร่เหล็ก ที่เป็นวงแหวนมีหัวลูกศร เป็นโลโก้ของรถ ซึ่งต้องการวางให้อยู่ตรงกลางหน้ารถด้วย เพื่อความเด่นชัด
ความจำเป็นต้องมี
เนื่องจากรถ OV4 รุ่นนี้ ยังไม่มีตะแกรงหน้ารถ ลวดลายที่เห็นนั่นคือซี่แผงหม้อน้ำโดยตรง ดังนั้นโลโก้หัวลูกศรที่ต้องการจะวางอยู่ตรงกลางนั้น ไม่มีพื้นที่ยึดจับอย่างมั่นคงถาวร ดังนั้นจึงต้องสร้างแถบเชื่อมต่อระหว่างโลโก้ที่อยู่ตรงกลางกระจัง กับกรอบหม้อน้ำที่อย่รอบ ๆ แล้วหลอมรวมเป็นชิ้นเดียวกัน สรุปง่าย ๆ คือเส้นพาดเฉียงนี้ เดิมทีใช้เป็นสะพานเชื่อมยึดโลโก้ให้อยู่ตรงกลาง
ทำไมต้องเส้นเฉียง
ถ้าหากใช้แถบโลหะเพื่อเชื่อมต่อกับโลโก้แล้ว ทำไมต้องเป็นเส้นเฉียง ทั้งที่ใช้เส้นตรงแนวนอน หรือแนวตั้ง ก็สามารถเชื่อมต่อกับกระจังหน้าได้เช่นกัน คำตอบก็คือ เส้นเฉียงเป็นเส้นตรงที่เอื้อต่อการกะตำแหน่งให้โลโก้อยู่ตรงกลางอย่างแม่นยำ มากกว่าเส้นแนวนอนหรือแนวตั้ง นอกจากนี้นักออกแบบจงใจใช้เส้นเฉียงขึ้นจากซ้ายไปขวา แทนที่จะใช้เส้นเฉียงลง เพื่อให้สอดรับกับทิศทางของหัวลูกศรที่ชี้ไปในทิศทางเดียวกัน
วอลโว่ที่ไม่มีเส้นเฉียง
Volvo ยังใช้เส้นเฉียงขึ้นพาดกระจังหน้าในอีก 3-4 รุ่นต่อมานั่นคือ PV650 รถหรูรุ่นใหญ่, TR670 โดยลดขนาดเส้นเฉียงให้สั้นลงในรุ่น PV36 กับ PV56 จนกระทั่งในปี 1938 ก็ได้เลิกใช้เส้นเฉียงนี้ กลายเป็นตัวอักษรยี่ห้อรถในรุ่น PV800, PV444, PV544 รวมถึงวอลโว่รุ่นสร้างชื่ออย่าง 122 Amazon ก็ยังไม่มีเส้นเฉียงที่กระจังหน้า
เส้นเฉียงกลับมา
การออกแบบเส้นเฉียงที่กระจังหน้าถูกนำกลับมาอีกครั้งในรถรุ่น Volvo 164 ที่ออกแบบโดย Jan Wilsgaard สาเหตุที่ถูกนำกลับมาใหม่ ไม่ใช้เพราะต้องการยึดโลโก้ให้อยู่ตรงกลางเหมือนสมัยก่อน แต่เพื่อให้รถแบรนด์นี้มีความแตกต่างจากค่ายรถอังกฤษและอเมริกัน ซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญในขณะนั้น นอกจากการนำเส้นเฉียงกลับมาแล้ว ยังจงใจติดโลโก้เฉียงเยื้องศูนย์แบบรุ่น PV36 เพื่อความสะดุดตาอีกด้วย
อ่านเพิ่มเติม : เปิดความสัมพันธ์พิลึก Volvo กับเกาหลีเหนือ เจ้าหนี้และลูกหนี้นานหลายทศวรรษ
กลายเป็นธีมการออกแบบ
หลังจากเส้นเฉียงพาดกระจังหน้าถูกนำกลับมาใช้ใน Volvo 164 ก็ยังลามมาถึงรุ่นเล็ก 144 ทำให้มันเริ่มถูกจดจำอีกครั้ง และถูกใช้สไตล์ซ้ำ ๆ ต่อเนื่องมาในรุ่น 240 ลามไปถึงผลิตภัณฑ์รุ่นอื่น ๆ ของเครือวอลโว่ ตั้งแต่รถเก่ง รถบรรทุก รถบัส ทำให้เส้นพาดเฉียงที่จากเดิมที่สร้างไว้ใช้งาน กลายเป็นเอกลักษณ์ทางการออกแบบที่ขาดไม่ได้ของค่ายรถนี้
อ่านเพิ่มเติม : ชายผู้ใช้งาน Volvo 740 GLE ทะลุ 1.6 ล้านกิโลเมตร ก่อนได้รับมอบคันใหม่
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });