จีนแผ่นดินใหญ่กลายเป็นยักษ์ใหญ่ระดับโลกในการผลิตแบตเตอรี่สำหรับใช้กับรถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด
สถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเลคโทรนิค (IEEE) ระบุข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจการผลิตแบตเตอรี่ทั่วโลกว่า บริษัท Contemporary Amperex Technology Co. (CATL) นำมาเป็นอันดับหนึ่งในกลุ่มผู้ผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าในระดับโลก มีส่วนแบ่งตลาด 26% และสร้างพลังงานได้ที่ 21.6 กิกะวัตต์ชั่วโมง
CATL สามารถผงาดขึ้นเป็นผู้นำเหนือบริษัทยักษ์ใหญ่ฝั่งตะวันตกได้ด้วยการมีลูกค้าสำคัญมากมาย อาทิ Tesla (เทสล่า) Volkswagen (โฟล์คสวาเกน) Volvo (วอลโว่) และ BMW (บีเอ็มดับเบิลยู) เป็นต้น
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });
จีนครองตลาดแบตเตอรี่รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดเช่นกัน
สำหรับแบตเตอรี่สำหรับ PHEV หรือรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดนั้น บริษัทจากจีนทั้ง China Aviation Lithium Battery (CALB), Gotion High-Tech และ Ruipu Energy Co. (REPT), และ BYD ครองส่วนแบ่งตลาดถึง 39% และสร้างพลังงานได้ที่ 31.7 กิกะวัตต์ชั่วโมง
นอกเหนือจากจีนแล้ว เกาหลีใต้ตามมาห่าง ๆ และแซงหน้าญี่ปุ่นไปเรียบร้อยแล้วโดยบริษัท LG ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาด 26% และสร้างพลังงานได้ที่ 21.4 กิกะวัตต์ชั่วโมง ลูกค้าเจ้าใหญ่ของ LG ได้แก่ General Motors (เจนเนอรัล มอเตอร์ส)
บริษัทอันดับหนึ่งในญี่ปุ่นที่แข่งขันในตลาดโลกคือ Panasonic มีลูกค้าเจ้าใหญ่อย่าง Toyota (โตโยต้า) (รวมถึง Tesla ด้วยเช่นกัน) มีส่วนแบ่งตลาด 17%
ขณะที่ Samsung SDI และ SK Innovation (SKI) มีส่วนแบ่งตลาด 7% และ 4% ผลิตกระแสไฟฟ้าที่ 5.5 กิกะวัตต์ชั่วโมงและ 3.4 กิกะวัตต์ชั่วโมงตามลำดับ
เผยแบตเตอรี่อาจเข้าสู่ภาวะขาดแคลน
ไม่เพียงการจัดอันดับที่มีนัยสำคัญ IEEE ยังเตือนด้วยว่าอาจเกิดภาวะขาดแคลนแบตเตอรี่ในอนาคต เนื่องจากวัตถุดิบสำคัญอย่างลิเธียมมีไม่เพียงพอต่อการผลิตเพื่อรองรับความต้องการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าที่เติบโตอย่างกระโดดเนื่องจากหลายค่ายรถเริ่มหันมาสนับสนุนรถอีวีมากขึ้น
ไรอัน คัสติลูซ์ กรรมการผู้จัดการบริษัทวิจัยตลาด Adamas Intelligence กล่าวว่า “ความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าที่พุ่งสูงและถาโถมราวกับคลื่นสึนามิจะสร้างแรงกดดันอย่างมหาศาลในแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนต่อซัพพลายเชนการผลิตแบตเตอรี่และระบบขับเคลื่อนไฟฟ้า ทำให้ราคาต้นทุนของลิเธียม นิกเกิล โคบอลต์ นีโอไดเมียม และแร่ธาตุจำเป็นต่าง ๆ พุ่งทะยาน"
เมื่อต้นทุนการผลิตแบตเตอรี่พุ่งสูงขึ้น สิ่งที่ตามมาคือราคารถยนต์ไฟฟ้าที่จะไม่ปรับตัวลดลงจนเท่ารถเครื่องยนต์สันดาปได้อย่างรวดเร็วในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้
องค์การพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) คาดการณ์ว่าภายในปี 2030 บนท้องถนนจะมีรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดและรถยนต์ไฟฟ้ามากถึง 145 ล้านคัน เพิ่มขึ้นจาก 10 ล้านคันในปี 2020
ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า ลำพังเพียงสหรัฐอเมริกาชาติเดียวก็มีความต้องการโรงงานผลิตแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ถึง 20 – 40 แห่งเพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภค แต่ปัจจุบันยังไม่มีวัตถุดิบมากเพียงพอ โซลูชั่นส์สำคัญคือการรีไซเคิลให้ได้มากที่สุดและพัฒนาวัตถุดิบอื่นขึ้นมาทดแทน
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });