เป็นที่ทราบกันดีว่าการผลิตรถยนต์แต่ละคันต้องมีการควบคุมคุณภาพหลายชั้น เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุด มีความปลอดภัย และรองรับการใช้งานได้ยาวนาน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตรถยนต์ในประเทศญี่ปุ่นที่ขึ้นชื่อว่ามีกระบวนการและ “ขนบธรรมเนียม” ในการรักษามาตรฐานสูงสุดเพื่อรักษาภาพลักษณ์ของการประทับตรา “เมดอินเจแปน” ที่สั่งสมชื่อเสียงมาอย่างยาวนาน
แต่ล่าสุด ผู้บริหารระดับสูงของ Toyota (โตโยต้า) ออกมาเปิดเผยว่าบริษัทฯ “ไม่ขัดข้อง” หากซัพพลายเออร์หรือผู้ผลิตชิ้นส่วนจะส่งมอบชิ้นส่วนที่มีรอยขีดข่วนหรือมีตำหนิมาเข้าสู่กระบวนการผลิตรถยนต์ของพวกเขา
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });
ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?
ท่ามกลางปัญหาการขาดแคลนชิปส์เซมิคอนดักเตอร์และการปรับตัวสูงขึ้นของต้นทุนการผลิต บริษัทรถยนต์หลายรายต้องหาวิธีการแก้ไขอุปสรรคมากมายเพื่อผลิตรถยนต์ส่งมอบตามความต้องการของลูกค้าและเพิ่มผลกำไร
ทาเคฟูมิ ชิงะ หัวหน้าโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของ Toyota ออกมาให้สัมภาษณ์ว่าบริษัทฯ ยอมรับชิ้นส่วนที่มีตำหนิเพื่อควบคุมต้นทุนให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้
“เรามีความใส่ใจและระมัดระวังเกี่ยวกับรูปลักษณ์ภายนอกของตัวรถ ชิ้นส่วนภายนอกที่ลูกค้ามองเห็นจะต้องมีความสมบูรณ์แบบ” ชิงะ กล่าว “แต่มีชิ้นส่วนอีกมากมายที่ผู้คนมองไม่เห็นหากไม่จับจ้องดูให้ดี”
รายงานข่าวระบุว่า ชิงะและทีมงานฝ่ายวิศวกรรมได้พบปะกับซัพพลายเออร์ทั้งรายเล็กและรายใหญ่ตั้งแต่ปี 2019 เพื่อหารือเกี่ยวกับการผลิตชิ้นส่วน โดยหนึ่งในประเด็นสำคัญคือ Toyota ยืนยันว่าไม่ขัดข้องหากมีการส่งมอบชิ้นส่วนที่มีรอยขีดข่วนหรือมีตำหนิ ตราบใดที่ไม่ส่งผลต่อความปลอดภัยหรือสมรรถนะของตัวรถ
“เราต้องพึ่งพาความมุ่งมั่นของพวกเขา (ซัพพลายเออร์)” ชิงะ กล่าว
ผู้บริหารระดับสูงของ Toyota เปิดเผยด้วยว่าหลังจากพบปะกับซัพพลายเออร์เพื่อแจ้งแนวทางการดำเนินงานดังกล่าว ผลปรากฎว่า ชิ้นส่วนพลาสติกที่ใช้สำหรับการผลิตเข็มขัดนิรภัยนั้นมีอัตราการถูกปฏิเสธลดลงถึง 3 ใน 4
ทั้งนี้ Toyota เพิ่งยกระดับการคาดการณ์ผลกำไรเพิ่มขึ้น 12% จนถึงสิ้นสุดปีงบประมาณหน้าหรือวันที่ 31 มีนาคม 2022 โดยได้แรงขับเคลื่อนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ดีขึ้น แต่ก็ยังเตือนว่าการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์นั้นยังจะส่งผลต่อการผลิต ต้นทุน และผลกำไร
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });