การทำผิดกฎจราจร แน่นอนว่าเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่อยากให้เกิดขึ้น รู้ตัวอีกทีใบสั่งก็มาที่บ้านแล้ว แต่หากไม่อยากไปโรงพักเพราะกลัว Covid-19 หรือไม่สะดวกไป
เราได้รวบรวมช่องทางอื่น ๆ มาให้ดูกันว่าจะจ่ายค่าปรับอย่างไรได้บ้าง
อันดับแรกที่ต้องทำคือ เช็คดูว่า ใบสั่งนั้นเป็นของเราจริงหรือไม่ เป็นรูปรถเรา และทำผิดจริงหรือเปล่า รวมถึงที่อยู่ และเลขบัตรประชาชน
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });
ชนิดใบสั่งที่สามารถชำระค่าปรับออนไลน์ได้
- ใบสั่งจากกล้องจราจร
- ใบสั่งแบบเล่มที่ไม่ถูกยึดใบขับขี่
- ใบเตือนทุกชนิดที่มีบาร์โค้ด และเครื่องหมาย PTM
1. จ่ายที่ธนาคารกรุงไทย
สำโดยสามารถนำใบสั่งที่มีแถบบาร์โค้ดมาทำรายการผ่านช่องทางต่าง ๆ ของธนาคารได้ โดยจ่ายออนไลน์ด้วยแอปพลิเคชัน “Krungthai NEXT” แต่มีข้อจำกัดคือ จะต้องมีบัญชีธนาคารด้วย
ขั้นตอนคือ เลือกเมนู
- เลือกเมนู "จ่ายเงิน”
- เลือกแท็บ “ยอดนิยม”
- พิมพ์ค้นหา “สำนักงานตำรวจแห่งชาติ”
- กรอกข้อมูลใบสั่ง และหมายเลขบัตรประชาชน 13 หลัก
หรือจ่ายที่เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา, ตู้ ATM และตู้ ADM กรุงไทย ขั้นตอนคือ เลือกเมนู “ค่าปรับจราจร”, เลือกบัญชีเงินออมทรัพย์, ใส่หมายเลขที่ใบสั่ง
โดยหลังจากนั้น แนะนำให้เก็บ เอกสาร/สลิป/ข้อความ sms ใช้เป็นหลักฐาน ระบบจะบันทึกข้อมูลค่าปรับอัตโนมัติ ไม่ต้องส่งหลักฐานไปที่สถานีตำรวจอีก
2. เคาน์เตอร์เซอร์วิซ
Counter Service เช่น เซเว่น อีเลฟเว่นที่เราคุ้นเคยกันดี
3. ตู้บุญเติม
ขั้นตอนคือ เลือกเมนู “จ่ายบิลและค่าสินค้า” และเลือก “ชำระค่าปรับ” (ใบสั่งต้องมีแถบบาร์โคด)
4. CenPay
หรือร้านค้าของเครือ CENTRAL Group เช่น แฟมิลี่ มาร์ท, Tops, เซ็นทรัล, โรบินสัน, บีทูเอส, ไทวัสดุ HomeWork, Power Buy และ Super Sports เป็นต้น
5. ที่ทำการไปรษณีย์
มีขั้นตอนคือ
- กรอกรายละเอียดใบฝากธนาณัติในประเทศ สั่งจ่าย “ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ” ณ ที่ทำการไปรษณีย์ปลายทางของสถานีตำรวจที่ออกใบสั่งตั้งอยู่
- จ่าหน้าซองจดหมาย 2 ซอง
- ซองแรก จ่าหน้าถึงหัวหน้าสถานีตำรวจที่ออกใบสั่ง เช่น ผู้กำกับการ สน.บางรัก เป็นต้น
- ซองที่สอง จ่าหน้าชื่อ – ที่อยู่ ของผู้กระทำผิดเอง
- ชำระค่าปรับตามที่ระบุไว้ในใบสั่ง พร้อมเงินค่าบริการ
- จัดส่งซองซองแรกที่จ่าหน้าถึงหัวหน้าสถานีตำรวจ พร้อมแนบธนาณัติ, สำเนาใบสั่งและซองเปล่าที่จ่าหน้าชื่อ – ที่อยู่ของผู้กระทำผิด
- เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับเงินแล้วจะออกใบเสร็จ และจัดส่งใบเสร็จ คืนให้
ไม่จ่ายเป็นอะไรไหม?
กรณีได้รับใบสั่งต้องชำระค่าปรับภายในเวลาที่กำหนด หากยังไม่ไปจ่ายค่าปรับทางเจ้าพนักงานก็จะอายัดทะเบียนและแจ้งข้อหาเพิ่มคือข้อหาไม่มารายงานตัวภายในเวลาที่กำหนด
เปรียบเทียบปรับไม่เกิน 1,000 บาท จึงกลายเป็น 2 ข้อหา แต่ถ้าไม่ไปจ่ายก็จะต่อทะเบียนหรือใบขับขี่ไม่ได้
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });