ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติหลักการแก้ไขกฎกระทรวงปี 2560 ว่าด้วยรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คนหรือรถแท็กซี่ โดยสาระสำคัญอยู่ที่อุปกรณ์เสริมและอายุใช้งาน
ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติอนุมัติหลักการแก้ไขกฎกระทรวงว่าด้วยรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน ปี 2560 โดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดเรื่องของอุปกรณ์ ระบบ หรือเทคโนโลยีติดตามรถที่สามารถนำมาใช้แทนเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ เช่น โทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน
นอกจากนี้ ครม.ยังอนุมัติหลักการขยายอายุการใช้งานของรถแท็กซี่จาก 9 ปี เป็น 12 ปี นับแต่วันจดทะเบียนครั้งแรก แต่รถจะต้องมีการตรวจสภาพจากคณะกรรมการที่มีกรมการขนส่งทางบก และกรมควบคุมมลพิษ ว่าอยู่ในสภาพปลอดภัย ไม่มีมลพิษเกินกว่าที่กำหนด แต่จะพิจารณาขยายอายุให้เพียง 3 ปีเท่านั้น หลังจากนั้นจะนำมาพิจารณากันใหม่
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });
ทั้งนี้ การให้เวลาเพียง 3 ปี มีเป้าหมายเพื่อช่วยบรรเทาเยียวยาความเดือดร้อนของเจ้าของรถและผู้ประกอบอาชีพขับรถยนต์รับจ้างจากสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 ซึ่งการขยายอายุดังกล่าวจะมีผลนับตั้งแต่วันที่ลงนาม
“รมว.ทรัพยากรธรรมชาติฯ แสดงความเป็นห่วงในเรื่องการปล่อย PM2.5 ดังนั้นจึงขอให้การขยายอายุการใช้งานรถแท็กซี่นี้ บังคับใช้แค่ระยะ 3 ปีนี้ก่อน” ไตรศุลี กล่าวเพิ่มเติม
คนขับแท็กซี่ได้เฮ แต่มีผลเสียหรือไม่
แน่นอนว่าการยืดอายุการใช้งานรถยนต์เพิ่มอีก 3 ปีทำให้เกิดคำถามเรื่องปัญหามลพิษ โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ที่ต้องเผชิญกับค่าฝุ่นละออง PM2.5 สูงเกินมาตรฐานเป็นประจำในช่วงฤดูร้อนที่ฝนทิ้งช่วงระหว่างเดือนมีนาคม – กรกฎาคม
เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายดังกล่าว กรมการขนส่งทางบกจะจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อทำงานร่วมกับกรมควบคุมมลพิษ ในการกำหนดหลักเกณฑ์ตรวจสภาพรถ โดยเฉพาะเรื่องมาตรฐานไอเสียรถยนต์ และมาตรฐานค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ซึ่งเป็นข้อห่วงใยของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ขณะเดียวกัน ถ้ามีการตรวจสภาพรถบ่อยเกินไปก็จะทำให้เกิดการค่าใช้จ่ายและเสียเวลากับผู้ประกอบการแท็กซี่ได้ ซึ่งการตรวจสภาพรถนั้น ต้องคำนึงถึงสภาพรถให้มีความพร้อม ปลอดภัยมีประสิทธิภาพการใช้งานและปลอดมลพิษด้านสิ่งแวดล้อม หากรถคันไหนไม่ผ่านการตรวจ ต้องนำไปแก้ไขปรับปรุงใหม่ถึงจะได้รับการต่ออายุ
ในทางกลับกัน ครม. ชี้แจงว่าหนึ่งในเหตุผลที่มีมีมติอนุมัติต่ออายุแท็กซี่ เนื่องจากที่ผ่านมาผู้ประกอบการแท็กซี่มีการเรียกร้องปรับขึ้นค่าโดยสารมาตลอด เพราะค่าโดยสารที่ให้บริการปัจจุบันไม่สอดคล้องกับต้นทุนจริงและได้รับผลกระทบจาก COVID-19 แต่การปรับค่าโดยสารจะส่งผลกระทบต่อประชาชน จึงหาทางออกด้วยการเยียวยาผู้ประกอบการรถแท็กซี่แทน
ขอบคุณภาพ: ประชาชาติธุรกิจ
อดีตนักข่าว เอเจนซี่ และฟรีแลนซ์ฝีมือเยี่ยม ที่นำประสบการณ์ร่วม 20 ปีมาถ่ายทอดคอนเทนท์และประเด็นข่าวในวงการยานยนต์ทั้งไทยและเทศในรูปแบบที่สดใหม่และแตกต่าง
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });