แม้จะประกาศตัวเข้าสู่กระบวนการเดินหน้าสู่ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้ากับการประกาศแบรนด์ Prolouge (โปรลอก) ไปก่อนหน้านี้ แต่ดูเหมือน Honda (ฮอนด้า) ค่ายรถชั้นนำจากญี่ปุ่นไม่ได้ประมาทตลาดนี้ และยังมองว่าเป็นตลาดที่ยากต่อการทำกำไรต่อไปในอนาคต
อ้างอิงจากคำพูดของโทชิฮิโระ มิเบะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ของฮอนด้า มอเตอร์ ที่บอกเป็นนัย ๆ ว่าฮอนด้านั้นพร้อมที่เดินหน้าหาพันธมิตรที่เป็นผู้ประกอบการยานยนต์รายอื่น ๆ เพื่อร่วมมือ แบ่งปัน ต้นทุนการผลิตร่วมกัน เพื่อสร้างผลกำไรในอนาคต
"ในเรื่องของพันธมิตร ฮอนด้าก็พร้อมจะเดินหน้าอะไรก็ได้ที่มีความเป็นไปได้ จากนั้นก็คงมองไปที่เรื่องของการจัดตั้งพันธมิตรร่วมกัน เป็นทิศทางที่จะเพิ่มจำนวนของรถยนต์พลังงานไฟฟ้า เมื่อมองว่ารถยนต์ไฟฟ้าไม่สามารถขยายในเชิงพาณิชย์ได้ทันที"
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });
หวั่นราคาตกอย่างรวดเร็วเหมือนเครื่องใช้ไฟฟ้า
อีกปัญหาหนึ่งที่ทำให้ฮอนด้ามองว่ารถยนต์ไฟฟ้านั้นยากต่อการทำกำไร ก็คือการวางแผนเรื่องราคาจำหน่ายที่ยังทำได้ยากอยู่ และอาจจะทำให้ราคาจำหน่ายของรถยนต์ไฟฟ้านั้นตกลงอย่างรวดเร็วในอนาคตอันใกล้ ไม่ต่างอะไรจากบรรดาเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน
นอกจากนี้ หากให้เราประเมินสถานการณ์ของฮอนด้าในฐานะค่ายรถยนต์ผู้ยืนหยัดด้วยตัวเอง การคิดค้นและพัฒนาแพลตฟอร์มยานยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ ๆ เพื่อใช้งานอย่างกว้างขวางเพื่อลดต้นทุนนั้นทำได้ยากอย่างยิ่ง หากไม่มีใครมาช่วยแชร์ต้นทุนออกไปบ้าง
ลองเปรียบเทียบกับแบรนด์ค่ายรถยนต์ที่มีพันธมิตรอย่างเข้มแข็ง Nissan (นิสสัน) นั้นสามารถแชร์แพลตฟอร์มของตัวเองกับ Ranault (เรโนลต์) รวมไปถึง Mitsubishi (มิตซูบิชิ) หรือพันธมิตรเกาหลีอย่าง Kia (เกีย) และ Hyundai (ฮุนได) ก็แชร์กันได้อยู่
ไม่ต้องไปเปรียบเทียบกับแบรนด์ขนาดใหญ่อย่าง Volkswagen (โฟล์กสวาเกน) ที่มีแบรนด์ในเครือนับสิบ หรือแม้แต่พันธมิตรใหม่อย่าง Stellantis (สเตลแลนติส) ก็เช่นเดียวกัน กลุ่มพันธมิตรใหญ่เหล่านี้สามารถพัฒนาและคิดค้นรถรุ่นใหม่ขึ้นมาได้อย่างง่ายดาย
เอาจริง ๆ ฮอนด้าก็ไม่ได้หัวเดียวกระเทียมลีบขนาดนั้น เพราะ 2024 Honda Prolouge นั้นก็เป็นผลงานในการพัฒนาร่วมกันกับ GM (จีเอ็ม) และจะมีรถออกมาถึง 2 รุ่นภายใต้โครงการความร่วมมือครั้งนี้ อีกรุ่นก็คือรถเอสยูวีภายใต้แบรนด์ Acura (อาคูร่า) นั่นเอง
จากไฟฟ้าสู่การพัฒนาด้านอื่น ๆ ร่วมกัน
พันธกิจของฮอนด้าและจีเอ็มในตลาดสหรัฐอเมริกานั้นถือว่าเป็นการเริ่มต้นก่อสร้างพันธมิตรอย่างเป็นทางการของค่ายรถทั้งสอง โดยฮอนด้านั้นจะแชร์แพลตฟอร์มใหม่ที่เรียกว่า e:Architecture ให้กับจีเอ็ม แต่จะได้ใช้บริการแบตเตอรี่อัลเธียมที่ว่ากันเยี่ยมมาแทน
ยังไม่มีรายงานว่าทางจีเอ็มจะทำการพัฒนารถรูปแบบใดออกมาบ้าง แต่ก็น่าจะมีความหลากหลายกว่าฮอนด้าอย่างแน่นอน เพราะจีเอ็มนั้นก็เป็นหนึ่งในค่ายรถที่มีแบรนด์รถยนต์ในเครือหลากหลาย ทำให้มีโอกาสในการนำสิ่งที่ร่วมมือกันไปพัฒนาได้หลากรูปแบบ
นอกเหนือจากการพัฒนาจุดเริ่มต้นของรถยนต์ไฟฟ้าร่วมกันแล้ว มีรายงานว่าฮอนด้าและจีเอ็มนั้นมีโครงการพัฒนาร่วมกันอย่างต่อเนื่องอีกหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติสำหรับรถยนต์ หรือเทคโนโลยีไฮโดรเจน ฟิวเซลล์ เป็นต้น
นับตั้งแต่ได้รับการแต่งตั้งมาเป็นผู้บริหารสูงสุดของฮอนด้าในเดือนเมษายน 2564 มิเบะได้แสดงความชัดเจนในการเดินหน้าสนับสนุนยานยนต์พลังงานไฟฟ้า แม้ว่าในปัจจุบัน ฮอนด้าจะทำตลาดรถยนต์ไฟฟ้าอยู่เพียงรุ่นเดียวทั่วโลกก็คือ Honda e (ฮอนด้า อี)
รถยนต์รุ่นอื่นที่ทำตลาดยังเน้นเครื่องยนต์และไฮบริด ฮอนด้ามีภารกิจที่จะต้องเดินหน้ารถยนต์พลังงานไฟฟ้าอย่างรวดเร็ว เมื่อพวกเขามีแผนงานขายรถพลังงานไฟฟ้าเท่านั้นในยุโรปในปีหน้า และขายเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าและฟิวเซลล์นับตั้งแต่ปี 2583 ทั่วโลก
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });