รถกระบะถูกออกแบบมาให้ขนของอยู่แล้ว ผู้ใช้หลายคนก็นำไปใส่ตู้ต่อคอกอย่างถูกกฎหมาย แต่มีผู้ใช้กระบะบางคนมีนิสัยง่าย ๆ ที่บรรทุกของยาวยื่นออกนอกตัวรถมามาก จนเกิดเป็นอุบัติเหตุมาหลายคดีแล้ว มาวิเคราะห์กันว่า ทำไมคนเหล่านี้บรรทุกยื่น จากคดีเก่าที่เคยเกิดขึ้นเป็นข่าวมาหลายเคส และจะมาบอกกฎหมายให้รู้ว่าบรรทุกยื่นได้เท่าไหร่บ้าง
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });
บรรทุกยื่นข้าง ต้องไม่เกินความกว้างของรถ
การบรรทุกของนั้น คนส่วนใหญ่ก็รู้กันดีว่าไม่ควรยื่นออกข้างรถ ตรงตามข้อกฎหมายว่า ต้องไม่บรรทุกสิ่งของเกินความกว้างของตัวรถ เพื่อให้รถทุกคันสวนกันได้ง่าย แต่ก็มีบางคนที่ทำตัวง่าย ๆ หรือเผลอเรอ อ้างว่าขนของระยะทางใกล้ ๆ ขับไม่เร็ว เลยจะวางยังไงก็ได้ หรือมัดของไม่แน่น ทำให้สิ่งของไหลออกข้างรถ
บรรทุกยื่นหน้าได้ไม่เกินหน้าหม้อรถ
การบรรทุกของยื่นไปด้านหน้าก็สามารถทำได้ โดยพาดหลังคายาวออกไป แต่ต้องไม่เกินกฎหมายกำหนดสุดที่ระยะหม้อน้ำหน้ารถ อันเป็นระยะปลอดภัยที่ทำให้คนขับสามารถกะระยะได้ง่าย แต่ก็มักจะมีกระบะขนวัสดุก่อสร้าง ที่บรรทุกของยื่นเกินหน้ารถ ด้วยเหตุผลที่ว่า ไม่ได้บรรทุกสินค้าขนาดยาวแบบนี้บ่อยๆ จะซื้อรถ 6 ล้อมาขนก็ไม่คุ้ม จึงลักไก่ทำนาน ๆ ทีนึง
บรรทุกยื่นหลังได้ไม่เกิน 2.50 เมตร
การบรรทุกยื่นออกท้ายรถ ก็สามารถทำได้ ไม่เกินที่กฎหมายกำหนดสุดที่ 2 เมตร 50 เซนติเมตร วัดจากตัวถังหลังรถ เพื่อความปลอดภัยในการกระจายน้ำหนัก แต่ก็มีรถกระบะบางคันที่บรรทุกแบบนี้ให้เหตุผลว่า สินค้ามีน้ำหนักเบา บรรทุกยื่นเกินออกมาก็ไม่เป็นไร อาศัยว่าขับช้า และไม่ได้ทำบ่อย
บรรทุกสูงจากพื้นทางได้ไม่เกิน 3.80 เมตร
การบรรทุกสูงเกินหลังคารถสามารถทำได้ โดยเมื่อวัดความสูงจากพื้นถนนไปถึงยอดสัมภาระ ต้องไม่เกิน 3 เมตร 80 เซนติเมตร เพื่อความปลอดภัยทางการทรงตัว แต่ก็จะมีรถกระบะฝ่าฝืนกฎบางคัน ที่ใส่สินค้าสูงเกินกำหนดมาก โดยใช้ข้ออ้างว่า เพื่อให้ขนหมดภายในรอบเดียว ไม่เสียเที่ยววนรถเปล่ากลับมาขนสองรอบ
ติดแสงไฟเตือนให้ชัดเจน
เมื่อบรรทุกสิ่งของยื่นออกมาในเวลากลางวัน ควรติดธงสีแดงเรืองแสง ขนาดกว้าง 30 เซนติเมตร ยาว 45 เซนติเมตร เพื่อเป็นสัญญาณให้รถคันหลังเห็นได้ชัดเจน ส่วนการบรรทุกของยื่นยาวในเวลากลางคืน หรือในเวลาที่ไม่สามารถมองเห็นได้ในระยะ 150 เมตร ควรติดไฟสัญญาณสีแดงที่มองเห็นชัดเจนระยะ 150 เมตรขึ้นไป
ตีคอกต้องแจ้งลงเล่ม
รถกระบะที่มีการเสริมและดัดแปลงต่อเติมท้าย เช่น รั้วกระบะ ตะแกรงเหล็ก หรือคอกเหล็ก จนไปถึงตู้มีหลังคา ต้องแจ้งแก้ไขไปที่ สำนักงานขนส่ง สาขาเดียวกับตอนรถจดทะเบียนไว้ หากไม่มีการแจ้งถือว่ามีความผิดตามพรบ.ขนส่ง พ.ศ. 2522 มาตรา 12 ประกอบการมาตรา 60 มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
พวกคนนิสัยง่าย ๆ ที่บรรทุกยาวเกินกฎหมายกำหนดแบบนี้ รวมถึงพวกไม่ติดสัญญาณไฟ กับผูกรัดสัมภาระไม่ดี จะถูกตำรวจเรียกจับปรับในหลักร้อยบาทต่อครั้ง (ถือว่าถูกมากเมื่อเทียบกับกำไรค่าสินค้า) โดยที่บางคนอาจจะมีประโยคแก้ตัวอย่าง ไม่ได้ทำบ่อย ไม่ได้ขับเร็ว หรือขับในระยะสั้น ๆ ใช้เวลาแป๊บเดียว เหล่านี้ไม่นับเป็นข้อยกเว้น เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา มันสูญเสียทรัพย์สินแพง และอาจะเสียชีวิตที่ตีเป็นราคาไม่ได้ ดังนั้นควรเลิกทำแบบนี้ไปเลย แล้วเช่ารถขนาดใหญ่มาใช้งานชั่วคราวแทนจะดีที่สุด
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });