รถไฟฟ้าบีทีเอส ได้ทำการออกแผนการเยียวยาให้กับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 ระลอกที่ 3
โดยได้ขยายเวลาของบัตรโดยสาร ที่มีเที่ยวเดินทางในบัตรหมดอายุในช่วงตั้งแต่วันที่ 18 เม.ย. - 31 พ.ค. 64 ที่ยังไม่ได้ทำการใช้งาน
ผู้โดยสารสามารถทยอยนำบัตร มาติดต่อขอรับสิทธิ์ขยายเวลาเที่ยวเดินทาง ได้ที่ห้องจำหน่ายตั๋วโดยสารทุกสถานี ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.- 31 ธ.ค. 64
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });
การขยายการเดินทาง นับเวลาอย่างไร
เที่ยวเดินทางที่เติมในบัตร จะมีอายุ 30 วัน นับจากวันที่แตะใช้งานครั้งแรก หากยังไม่ใช้เดินทาง สามารถเก็บสิทธ์ไว้ได้ 45 วัน นับจากวันที่ขอรับสิทธ์
เปลี่ยนเที่ยวเดินทางเป็นเงินสดได้หรือไม่?
ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ เป็นการขยายระยะเวลาเที่ยวเดินทางเท่านั้น
ปัจจุบัน มีขบวนรถไฟฟ้าออกวิ่งให้บริการมากที่สุดทั้ง 98 ขบวน ด้วยความถี่สูงสุดเป็น 2 นาที 25 วินาที ในช่วงเวลาเร่งด่วน
เพื่อช่วยส่งเสริมมาตรการ Social Distancing ยังคงรักษามาตรการต่าง ๆ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสฯ อย่างเข้มงวด
ชี้แจงเรื่องหนี้สินกับกทม.
หากใครได้ติดตามเรื่องรถไฟฟ้าสายสีเขียว ที่ทาง BTS เคยได้ทำคลิปวิดีโอชี้แจงเรื่องหนี้สินที่ยังไม่ได้รับการชำระจากกรุงเทพมหานคร ได้มีการชี้แจงความคืบหน้าออกมาว่า
ได้มีการส่งหนังสือติดตามทวงถามตามกฎหมายให้กรุงเทพมหานคร และบริษัทกรุงเทพธนาคม ให้ชำระหนี้แก่ BTS ซึ่งก็ได้ครบกำหนด 60 วันแล้ว ก็ยังไม่ได้รับคำตอบจากภาครัฐแต่อย่างใด
ในส่วนของค่าโดยสาร BTS ยืนยันว่าไม่เคยเรียกร้องให้ภาครัฐเพิ่มค่าโดยสาร ทำให้ปัจจุบัน BTS ต้องแบกรับหนี้ถึง 4 ปีตั้งแต่เมษายน 2560 ที่เริ่มเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 2 (ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ)
เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการช่วยเหลือแบ่งเบาภาระค่าโดยสารให้แก่ประชาชน ปัจจุบัน ภาระหนี้สะสมที่รัฐบาลมีอยู่ประมาณ 30,000ล้านบาท ประกอบด้วย
- หนี้ค่าจ้างเดินรถตั้งแต่เดือนเมษายน 2560 จนถึงเดือนมีนาคม2564 จำนวน 10,903 ล้านบาท
- และหนี้ค่าซื้อระบบการเดินรถ (ไฟฟ้าและเครื่องกล)จำนวน 20,768 ล้านบาท
ล่าสุดเมื่อวันที่ 21 เม.ย. 64 ที่ผ่านมา สภากทม. ได้ปฏิเสธการใช้งบประมาณ ของกทม.มาชำระหนี้ดังกล่าวและได้เสนอทางเลือกให้กับฝ่ายบริหารในการขอให้รัฐบาลสนับสนุนหรือร่วมลงทุนกับเอกชนตามแนวทางของคำสั่ง คสช.
สิ่งที่อาจเกิดขึ้น
สรุปก็คือ BTS ยังไม่ได้รับการชำระหนี้สินจากกทม.และรัฐบาลหลังจากมีการติดต่อไป ในอนาคตอาจมีสิทธ์ได้เห็นค่าโดยสารที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากยังมีหนี้สินที่ค้างอยู่เป็นจำนวนมาก
เพราะทาง BTS เองไม่มีความต้องการที่จะขึ้นค่าโดยสาร แต่ก็ยังมีภาระที่ต้องแบกรับอยู่ จึงต้องติดตามว่า กทม.จะมีวิธีการแก้ไขปัญหานี้อย่างไรในอนาคต
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });