การซื้อรถในยุคสมัยนี้เป็นเรื่องง่าย แต่สิ่งสำคัญที่ตามมาคือการดูแลรักษารถยนต์ที่เราต้องให้ความสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะผู้ใช้รถ “มือใหม่” ที่เพิ่งได้รถมาไม่ว่าจะเป็นรถป้ายแดงหรือรถมือสองก็ตาม
ปกติการบำรุงรักษารถยนต์มี 2 ส่วนสำคัญ หนึ่งคือการบำรุงรักษาตามระยะโดยโชว์รูม และสองคือการดูแลรักษาโดยเจ้าของรถ ซึ่งข้อสองนี้เป็นหน้าที่ของผู้ใช้รถอย่างเรา ๆ ที่จำเป็นต้องตรวจสอบสภาพและการทำงานของตัวรถเป็นประจำ เราขอแนะนำพื้นฐานสำคัญของการตรวจเช็คด้วยตัวเอง มีอะไรบ้างนั้นไปดูกันเลย
1.น้ำมันเบรก
ตามปกติ ระบบเบรกมีน้ำมันอยู่แล้ว แต่น้ำมันเบรกดูดซับน้ำได้ง่าย ทำให้ประสิทธิภาพจะเสื่อมถอยลงเรื่อย ๆ ซึ่งจะส่งผลต่อการเบรก ดังนั้นแนะนำให้เปลี่ยนน้ำมันเบรกทุกสองปีหรือประมาณ 20,000 - 30,000 กิโลเมตร
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });
2.น้ำยาหล่อเย็นเครื่องยนต์
น้ำยาหล่อเย็นทำหน้าที่ระบายความร้อนของเครื่องยนต์ เพื่อช่วยให้เครื่องยนต์ทำงานเต็มประสิทธิภาพในช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสม การตรวจสอบทำได้ด้วยการจอดรถบนถนนที่ไม่ลาดเอียง เปิดฝาถังน้ำยาหล่อเย็น หากระดับน้ำยาอยู่ระหว่าง F และ L แสดงว่าปกติ หากต่ำกว่าระดับ L ควรเติมน้ำยาหล่อเย็นที่ผู้ผลิตกำหนด และปริมาณน้ำยาที่เติมนั้นไม่ควรสูงกว่าระดับ F
3.ยาง
ความดันลมยางสูงหรือต่ำเกินไปจะทำให้อายุการใช้งานของยางสั้นลง อาจเกิดอันตรายขณะขับขี่ และสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงมากขึ้น คำแนะนำคือตรวจสอบความดันลมยางอย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง โดยมาตรฐานความดันลมยางอยู่ที่ 31-36 ปอนด์ตามแต่ละรุ่น ควรตรวจสอบคู่มือประจำรถหรือบริเวณแผงข้างประตู
4.สายพานหน้าเครื่อง
เมื่อสตาร์ทเครื่องยนต์หรือขับออกตัวไป ถ้าเกิดเสียงดังเป็นจังหวะจากเครื่องยนต์มักเป็นเสียงสายพานหน้าเครื่องที่ทำงานผิดปกติ วิธีแก้ไขอาจทำได้ด้วยการปรับตั้งสายพานใหม่ หรือเปลี่ยนสายพานในกรณีที่ใช้งานเป็นระยะเวลานานจนเสื่อมสภาพ
5.หัวเทียน
อีกหนึ่งชิ้นส่วนที่เราต้องให้ความใส่ใจคือหัวเทียน อายุการใช้งานของหัวเทียนขึ้นอยู่กับวัสดุของอิเล็กโทรดของหัวเทียน ซึ่งมีอายุการใช้งานแตกต่างกัน อาทิ หัวเทียนที่ถูกที่สุดคือหัวเทียนโลหะผสมนิกเกิล มีอายุการใช้งานโดยทั่วไป 20,000 กิโลเมตร ส่วนหัวเทียนที่ทำด้วยวัสดุโลหะแบบราคาแพงเช่นอิริเดียมและแพลทินัมจะมีอายุการใช้ถึง 50,000 กิโลเมตรขึ้นไป
6.แบตเตอรี่
สำหรับแบตเตอรี่เราต้องตรวจสอบว่าสารละลายอิเล็กโทรไลต์มีระดับอยู่ตามที่กำหนดหรือไม่ เมื่อใกล้ถึงขีดล่างสุด ต้องเติมอิเล็กโทรไลต์หรือน้ำกลั่นให้ถึงขีดบน พร้อมกับตรวจสอบให้แน่ใจว่าสายขั้วบวกและขั้วลบของแบตเตอรี่สัมผัสกันดีและรักษาแบตเตอรี่ให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอ
ไม่ว่าจะเป็นมือใหม่หรือมือเก๋าก็ตาม ไม่ควรละเลยการดูแลรักษารถยนต์เป็นประจำ ชิ้นส่วนเล็กหรือใหญ่ล้วนช่วยเพิ่มอายุการใช้งานให้กับรถของเรา และป้องกันความเสียหายรุนแรงที่อาจส่งผลต่อเงินในกระเป๋าหรือสุขภาพร่างกายของเราเอง
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });