2021 All New Yamaha Aerox (ออนิว ยามาฮ่า แอร็อกซ์) ราคา 67,500 บาท
2021 All New Yamaha Aerox (ออนิว ยามาฮ่า แอร็อกซ์) ราคา 67,500 บาท
เก่าไปใหม่มา เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาหลายคนก็คงจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าทางบริษัท ไทยยามาฮ่า เมอร์เตอร์ ประเทศไทยได้ทำการเปิดตัวรถในตระกูลออโตเมติกรุ่นใหม่อย่างเจ้า 2021 All New Yamaha Aerox ซึ่งเรียกได้ว่าหลังจากเปิดตัวไปก็กระแสดีเหลือเกิน ซึ่งก็แน่นอนว่ามันมีทั้งคนที่ชอบโฉมใหม่ และคนที่คิดว่าโฉมเก่าก็ยังคงสวยกว่า ดังนั้นวันนี้ทาง AutoFun Thailand จึงจะขอพาเพื่อน ๆ ไปดูกันว่า 5 เหตุผลที่คุณควรซื้อ All New Yamaha Aerox นั้นมีอะไรกันบ้าง
เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่อันดับ 1 เลยก็ว่าได้ แต่เราอยากจะบอกว่าราคาของรถรุ่นนี้ไม่ได้หนีห่างจากโฉมเก่าเท่าไหร่นัก กับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่มีให้ บวกกับรูปร่างหน้าตาที่หล่อเท่ขึ้นนั้นเราถือว่าคุ้มค่ามากเลยทีเดียว
2020 Yamaha Aerox |
|
Standard Version |
65,400 บาท |
R Version |
68,400 บาท |
ABS Version |
75,900 บาท |
2021 All New Yamaha Aerox |
|
Standard Version |
67,500 บาท |
ABS Version |
78,500 บาท |
และจากราคาจัดจำหน่ายในด้านบนเราจะเห็นได้ว่ารุ่น Standard ในรุ่นเก่า และใหม่นั้นมีราคาที่แตกต่างกันเพียง 2,100 บาท เท่านั้นเอง
เรื่องการดีไซน์ภายนอกเราคงจะฟันธงไม่ได้ว่าโฉมไหนสวยกว่ากัน เพราะอันนี้ก็ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของแต่ละคน แต่หากถามเราเราชอบโฉมใหม่ในความเฉียบคม และตัวแฟริ่งรอบคันที่ดูดุดันขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะแฟน ๆ Yamaha Nouvo ก็คงจะชอบหน้าใหม่ของเจ้า Aerox ปี 2021 นี้เป็นแน่แท้ เพราะเอาจริง ๆ หน้าตามันแอบละม้ายคล้ายคลึงกันสะเหลือเกิน
ในเรื่องเทคโนโลยีคงจะไม่มีใครเถียงว่า Aerox โฉมใหม่ชนะขาด เพราะในรุ่นเก่าไม่มีนั่นเอง(555) ซึ่งระบบ Y-Connect ที่เข้ามาใหม่ไม่ได้แค่เรียกเสียงฮือฮาเท่านั้น แต่มันยังได้เข้ามาสร้างมาตรฐานครั้งใหม่ให้รถมอเตอร์ไซค์ในเมืองไทย ที่สามารถเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนได้แบบในรถยนต์ หรือรถบิ๊กไบค์ราคาแพงแล้ว ซึ่งเราคิดว่าต่อไปรถตลาดในประเทศไทยจะต้องมีเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามารองรับกันแบบแทบครบทุกรุ่นอย่างแน่นอน หรือพูดง่าย ๆ คือ ของมันต้องมี ค่ายไหนไม่มีเพื่อนล้อตายเลย
อย่างที่เราเคยบอกกันไปแล้วในคอลัมน์รีวิวก่อนหน้านี้ว่าถึงแม้ท่านั่ง และท่าทางการขับขี่จะไม่เปลี่ยนแปลงเท่าไหร่ แต่ในความเป็นจริงแล้วมันเปลี่ยน เพราะการปรับเปลี่ยนระยะของมุมคาสเตอร์ ระยะเทรล รวมไปถึงความสูงเครื่องยนต์ หรือความยาวของตัวรถนั้นแม้เพียงเล็กน้อยก็ส่งผลในเรื่องของการขับขี่ได้เช่นกัน
ดังที่ใน All New Yamaha Aerox แสดงให้เห็นแล้วว่ามันเลี้ยวง่ายขึ้น อาการหน้าไวหายไปหมดแล้ว ทำให้คุณมั่นใจในการคอนโทรลตัวรถได้ดียิ่งขึ้น ไม่เสี่ยงต่ออาการหน้าพับเมื่อต้องหักเลี้ยวในทางลาดชันอีกต่อไป รวมไปถึงปัญหาในเรื่องของพักเท้าผู้ซ้อนที่เมื่อวางเท้าจะชอบมาชนกับขาของผู้ขับขี่ ก็ได้มีการปรับแก้ไขโดยการถอยพักเท้าผู้ซ้อนออกไปด้านหลัง รวมไปถึงได้มีการขยายตำแหน่งของที่พักเท้าของผู้ขับขี่ให้กว้างขึ้นอีกด้วย นั่นทำให้ท่านั่งของทั้งตัวผู้ขับขี่ และผู้ซ้อนสบายมากขึ้นกว่าเดิมนั่นเอง
จากที่เราได้สอบถามไปกับยามาฮ่าหลัก ๆ เลยที่ทำให้พัฒนา Aerox ใหม่ออกมาก็เพราะว่าเดิมนั้น Yamaha Aerox เป็นรถที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการใช้งานภายในเมืองเท่านั้น ไม่เหมาะกับการขี่ทางไกล หรือเดินทางท่องเที่ยว แต่ในประเทศไทยได้มีกลุ่มที่ใช้รถ Aerox เดินทางออกทริปเยอะมาก และปัญหาที่พบเจอก็คือเมื่อวิ่งในทางลาดชันที่ต้องขึ้นเขาลงเขา จะเกิดปํญหาหน้าพับ หรือล้อหน้าไม่ติดถนนเมื่อเลี้ยวหักลงโค้งหนัก ๆ ดังนั้น All New Yamaha Aerox จึงได้พัฒนาและปรับปรุงในส่วนนี้มาแล้ว เพื่อให้ตอบสนองกับกลุ่มที่ชอบเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้นนั่นเอง
เครื่องยนต์ |
|
เครื่องยนต์ |
4 จังหวะ สูบเดี่ยว SOHC 4 วาล์ว |
ปริมาตรกระบอกสูบ |
155 ซี.ซี. |
กระบอกสูบ |
ไดอะซิล |
ระบบระบายความร้อน |
ระบายความร้อนด้วยน้ำ |
อัตราส่วนกำลังอัด |
11.6 : 1 |
กระบอกสูบ x ระยะชัก |
58.0 x 58.7 มม. |
ระบบจ่ายน้ำมัน |
แบบหัวฉีด |
ระบบจุดระเบิด |
T.C.I. |
ความจุน้ำมันเชื้อเพลิง |
5.5 ลิตร |
ระบบส่งกำลังขับ |
แบบสายพาน(V–Belt) |
โครงรถ |
|
ชนิดของเฟรม |
แบคโบน |
มุมคาสเตอร์/ระยะเทล |
26.5O / 100 มม. |
กว้าง x ยาว x สูง |
700 x 1,980 x 1150 มม. |
ความสูงจากพื้นถึงเบาะ |
790 มม. |
ระยะห่างจากพื้นถึงเครื่อง |
145 มม. |
ช่วงศูนย์กลางระหว่างล้อ |
1,350 มม. |
รัศมีวงเลี้ยวแคบสุด |
2,000 มม. |
น้ำหนักรถรวมของเหลง |
รุ่น Standard 122 กก. |
|
รุ่น ABS 125 กก. |
ระบบกันสะเทือน |
|
หน้า |
เทเลสโคปิค |
หลัง |
ยูนิตสวิง |
ระบบเบรก |
|
เบรกหน้า |
ดิสก์เบรกเดี่ยว+ABS (เฉพาะรุ่น ABS) |
เบรกหลัง |
ดรัมเบรก |
ชุดล้อ |
|
หน้า-หลัง |
ล้อแม็ก |
ยางล้อหน้า |
110/80-14 M/C 53P |
ยางล้อหลัง |
140/70-14 M/C 62P |