ประวัติของที่ปัดน้ำฝนแบบก้านเดียวของ Mercedes-Benz W124 ที่ซ่อนความน่าทึ่งทางวิศวกรรม แต่ถูกเลิกใช้ในรถยุคใหม่ เพราะอะไร ?
Mercedes-Benz (เมอเซเดส-เบนซ์) W124 บรรพบุรุษของ E-Class ในปัจจุบัน เปิดตัวเมื่อปี 1984 ออกแบบโดย Bruno Sacco มีจุดเด่นที่ความลู่ลมสูงสุดในขณะนั้นที่ 0.28 Cd ทั้งที่เป็นรถทรงกล่อง โดยหนึ่งในส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้รถลู่ลม นั่นคือใบปัดน้ำฝนก้านเดียว
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });
จุดกำเนิดใบปัดน้ำฝนก้านเดียว
ใบปัดน้ำฝนก้านเดียว ลักษณะมีจุดหมุนอยู่ตรงกลางขอบล่างของกระจกหน้า แล้วใบปัดก็หมุน 180 องศาไป-กลับ เคยถูกใช้ในรถ Benz 190E W201 มาแล้ว แต่มันได้ผลไม่ดีนัก เพราะพื้นที่กระจกไม่ถูกวาดออกเต็มที่ เหลือพื้นที่มุมบนของกระจกที่ไม่ถูกกวาดออกไป ดังนั้นเขาจึงคิดค้นกลไกใหม่
กลไกของใบปัดน้ำฝนก้านเดียว
กลไกที่ทำให้ใบปัดน้ำฝนก้านเดียว สามารถกวาดได้ถึงมุมกระจกนั่นคือ ก้านปัดยืดหดได้ หลักการทำงานคือ ก้านปัดมีขนาดยาวพอจะไปกวาดพื้นที่มุมกระจก แต่เมื่อก้านปัดหมุนมาถึงขอบกระจกตรงกลางที่แคบกว่า ก้านปัดน้ำฝนนี้ก็จะสามารถหดตัวลงไปให้เข้ากับขอบตรงกลาง และเมื่อพ้นจากขอบกลางไปแล้ว ก้านปัดก็จะยืดออกอีกครั้งเพื่อไปกวาดกระจกอีกมุมนึง ซึ่งกลไกนี้มันประกอบไปด้วยฟันเฟืองตัวใหญ่และเล็ก และมีคันชักเยื้องศูนย์ ทั้งหมดซ่อนในแกนกลางของใบปัดน้ำฝน ทำงานด้วยระบบกลไกล้วน ไม่มีไฟฟ้าช่วย
ปัดน้ำฝนได้เยอะสุด
ข้อดีของใบปัดน้ำฝนนี้คือ สามารถกวาดน้ำออกจากกระจกได้พื้นที่มากถึง 86% ของบานกระจกทั้งหมด ซึ่งมากกว่าใบปัดน้ำฝนแบบเดิม อีกทั้งยังช่วยให้มีความลู่ลมมากขึ้น เพราะใบปัดน้ำฝนแขนเดียว ต้านลมน้อยกว่าแบบ 2 แขน อีกทั้งยังส่งเสริมงานดีไซน์ให้รถดูเรียบร้อย มีก้านปัดน้ำฝนรบกวนสายตาน้อยที่สุด ทำให้นอกจากมันถูกใช้ในรถรุ่น W201 และ W124 แล้ว มันยังสานต่อมาในรถ SL-Class โฉม R129 ต่อเนื่องมาถึง C-class W202 จนถึง E-class W210 เป็นรถรุ่นสุดท้ายที่ได้ใช้
เลิกใช้เพราะ ?
ในช่วงกลางทศวรรษ 1990 Mercedes กลับเลิกใช้ปัดน้ำฝนก้านเดียวไปอย่างเงียบๆ ซึ่งเราไม่ทราบคำตอบอย่างเป็นทางการ แต่มีทฤษฎีในหมู่แฟน ๆ ของ Benz ว่าเพื่อประหยัดต้นทุน และมันไม่สามารถกวาดน้ำได้เร็วพอในช่วงฝนตกหนัก อีกทั้งยังมีหลายคนให้เหตุผลว่า การเคลื่อนไหวของก้านปัดเร็ว ๆ มันจะทำให้รถสั่นสะเทือนได้ จนถึงขั้นมีความเห็นว่า ก้านปัดที่กวาดแบบ 180 องศา มีผลสะกดจิตใจคนขับได้ด้วย
ชัยชนะของวิศวกรรม
ไม่ว่าในกรณีใด ก้านปัดน้ำฝนแขนเดียวที่แปลกประหลาดนี้ ยังคงมีแฟน ๆ จำนวนมากในปัจจุบันชื่นชม ยกย่องให้มันเป็นที่ระลึกถึงสมัยงานวิศวกรแบบกลไกที่ไม่เหมือนใคร
ใบปัดน้ำฝนในรถเบนซ์ W124 มือสองปัจจุบันนี้ยังคงใช้งานได้ดี หากได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม โดยจะมีการถอดชิ้นส่วนและทาน้ำมันใหม่ทุก ๆ 10-15 ปีก็จะทำให้ มันทำงานต่อไปได้ดีในอนาคต
อ่านเพิ่มเติม : 5 รุ่นรถตายยาก ทนทานที่สุดบนท้องถนนเมืองไทย เก่า 30 ปี ก็ยังวิ่งอยู่เพียบ
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });